วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

การเปรียบเทียบเว็บที่เป็นลักษณะ E-Business ตรวจสอบ PR : Page rank


การเปรียบเทียบเว็บที่เป็นลักษณะ E-Business ตรวจสอบ PR : Page rank
เว็บไซต์ที่มีค่า Page Rank สูง คือ www.Nike.com
จากการสำรวจของ Google  มีค่า Page Rank อยู่ในระดับ 7  และค่า Index จำนวน 50,700 ครั้ง ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่มีความนิยมสูงจากการประเมิน
 
ภาพแสดงค่า  Page Rank ของ http://www.nike.com

เว็บไซต์ที่มีค่า Page Rank น้อย คือ www.Checkpice.com
       จากการสำรวจของ Google มีค่า Page Rank อยู่ในระดับ 3 และค่า Index จำนวน 32,900 ครั้ง ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่มีความนิยมน้อยจากการประเมิน

ภาพแสดงค่า Page Rank  ของ http://www.checkprice.com

การเปรียบมูลค่าความนิยมจากค่า Page Rank และค่าดัชนี Index ของทั้งสองเว็บไซต์นี่สามารถชี้ให้เห็นถึงคุณภาพและโอกาสความสำเร็จของเว็บไซต์ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ได้
ซึ่งจากการสำรวจความแตกต่างของ 2 เว็บไซต์นี้ทำให้เปรียบเทียบเห็นอย่างได้ชัดเจนถึงความแตกต่างที่ส่งผลต่อค่า Page Rank และค่า Index ที่เป็นตัวชี้วัดคุณภาพของเว็บไซต์ ซึ่งสามารถพอสรุปสาเหตุได้ นั่นก็คือ การที่จะได้ค่าความนิยม Page Rank  สูง เว็บเพจจะต้องมีข้อมูลที่มากน่าสนใจต่อการค้นหาและการอัฟเดทข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ
ส่วนค่า Index จะเป็นค่าจำนวนครั้งที่ Google นั้นเข้ามาสำรวจเก็บข้อมูลซึ่งแสดงถึงความทันสมัยของข้อมูลตลอดเวลาของเว็บไซต์ นั่นก็คือ เว็บไซต์ของ Nike มักจะพบเห็นถูกฝากโฆษณาตามเว็บไซต์ต่างๆ มากมาย ตลอดจนมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ของ Nike ให้กับลูกค้าได้ศึกษา ต่างจาก Checkprice ที่ไม่ค่อยพบเห็นลิ้งบนเว็บไซต์อื่นเท่าไร ตลอดจนข้อมูลมักเป็นรูปภาพและไม่ค่อยมีการอัฟเดทมากหนัก จึงส่งผลต่อค่า Page Rang และค่า Index


วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

Online Business With Google



ธุรกิจ SME หรือธุรกิจทุกประเภทในประเทศไทยในโลกออนไลน์ตอนนี้ยังไม่ดีเท่าที่ควร เพราะช่องทางการขายของ SME ในประเทศไทย สินค้าและบริการบางร้านอาจจะมีหน้าร้านแล้วหรือบางร้านยังไม่มีทั้งๆ ที่เป็นสินค้าที่น่าสนใจมากหรือทางภาษาเทคนิคของเทคโนโลยีเรียกว่า ออฟไลน์อยู่ เป็นสินค้าที่ยังอยู่ในช่องทางขายที่อาจยังไม่มีหน้าร้านหรือมีหน้าร้านอยู่ที่ไกล จนกระทั่งลูกค้าไม่ทราบว่ามีอยู่ ซึ่งเป็นสินค้าที่ดพีมากๆ เหตุการณ์แบบนี้ไม่ได้เป็นเพราะในเมืองไทยที่ต่างประเทศก็เป็นแต่ในประเทศไทยเริ่มมีการตื่นตัวกันแล้ว
ตอนนี้ SME ไทยกับการออนไลน์ ยังไม่ดีมากนัก เพราะผู้ประกอบการของไทยมีแค่ 1 ใน 10 แต่ที่เป็นผู้บริโภคถึงอินเตอร์เน็ตได้หมดและที่ทุกคนทำคือการค้นหารวมถึงการค้นหาสินค้าและบริการก่อนการตัดสินใจที่จะซื้อ และมีผู้บริโภค 8 ใน 10 คนที่ค้นหาสินค้าและบริการ เรามจะทำอย่างไรให้ผู้ประกอบการอีก 9 สามารถทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงได้
1.ต้องมีตัวตนบนโลกออนไลน์
2.SO LO MO
การทำให้เว็นไซต์มีตัวตนและติดอันดับค้นหาใน Google
1.Get your business online
คือ การมีตัวตนบนโลกออนไลน์
2.Befound
คือ การถูกค้นพบ เว็บของเราต้องอยู่ในผลเสริซใน Google
แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ 
1. ผลเสริซโดยปกติ เป็นการที่ไดคะแนนจาก Google โดย Goolge จะทำการดูว่าเว็บของเรามีคุณภาพดีมากแค่ไหนและจะให้คะแนนกะบเว็บเรา
2. กระบวนการโฆษณาโดยเสียเงิน เป็นการสียเงินเวลาที่มีคนคลิกเข้ามาดูเว็บของเรา Google จะทำการเก็บเงินจากเจ้าของเว็บในเวลาที่มีคนคลิกเข้าไปในเว็บ

3. Bereached
คือ การที่จะแสดงว่าเราอยู่ที่ไหน โดยการปักหมุดบนแผนที่
        วิธีทำ ไปที่ Map.google.co.th วางธุรกิจของเราบนแผนที่แล้ว Login เข้าไปใช่ข้อมูลธุรกิจของเรา
4. Get Closer to your customer 
คือ การใช้ Medaigoogleการใช้ googleHunggoutsคือสามารถคุยผ่านวิดีโอคอร์ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ในการประชุมและสามารถส่งเอกสารได้พร้อมกัน
5. Increase your performance 
คือ การปรับปรุงคุณภาพทางการตลาดด้วย analytics.google
6.Engage your customers : Any where Any time 
คือการอยู่ในมือถือ สามารถให้ผู้บริโภคสืบค้นเว็บของเราได้ในมือถือ ทำได้ทุกทีทุกเวลา
7. Go Global (AEC)
คือการเตรียมตัวเป็น AEC
        วิธีการทำ ไปที่ global advertiser - ใช่ชื่อสินค้าหรือบริการ - เลือกประเทศเพื่อเปรียบเทียบ - ดูปริมาณการค้นหาของแต่ละประเทศในช่วงเวลาแต่ละปี

วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การทำธุรกิจและการตลาดในยุคดิจิทัล 3.0

1.สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการรับฟังบรรยายเรื่อง "การทำธุรกิจและการตลาดในยุคดิจิทัล 3.0"

Socail เป็นอะไรที่สำคัญและคำว่า Socail Media ไม่ได้มีแต่ต้องออนไลน์อย่างเดียวการที่เราไปซื้อสินค้าตามสถานที่ต่างๆ แล้วเจอการติดป้ายโฆษณาอยู่ก็เรียกว่าเป็นส่วนหนึ่งของ Socail Media
ประเภทของ Media
1. Owned media
เป็นสื่อที่ผู้ประกอบการเป็นเจ้าของ เช่น เว็บไซต์ บล็อก ต่างๆ  เป็นสื่อที่เป็นของเราเอง
2. Paid media
เป็นสื่อที่เราต้องจ่ายเงินซื้อ เช่น Branner, Sponser ship
3. Earned Media
เป็นสื่อที่ลูกค้าเป็นเจ้าของ เช่น Facebook  โดยมีการพูดถึงธุรกิจกับลูกค้าด้วยกัน
4. Social Media
เป็นสื่อที่เจ้าของธุรกิจเป็นผู้ติดต่อกับลูกค้าโดยตรง เสนอข้อดีของธุรกิจให้กับผู้บริโภค
Social media ถูกสร้างขึ้นมาจาการพูดหรือการสื่อสารปากต่อปาก โดยปัจจุบันทำได้ได้อย่างรวดเร็วโดยผ่านทางโลกสังคมออนไลน์ต่างๆ ได้อย่างทันที ซึ่งเรื่องนี้มีบทบาททางด้านการตลาด ผู้บริโภคปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปโดยการที่จะสร้างแบรนสินค้าขึ้นมาใหม่จำเป็นที่จะต้องรู้ถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1. Globolization Interdependence การเปลี่ยนไปในเรื่องความคิด คิดว่าทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีสิทธิออกความเห็นโต้แย้ง ไม่เห็นด้วยได้ มีอิสระในความคิดและตัดสินใจ 
2. Control of Media Customer is publisher ผู้บริโภควันนี้มีความเชี่ยวชาญในด้านความคิดเห็นต่อสินค้า อยากออกแบบสินค้าเห็นแบบที่ตนต้องการ ซึ่งต่างจากเมื่อก่อนที่รอดูข้อมูลสินค้าเพียงอย่างเดียว ซึ่งผู้บริโภควันนี้มีการแบ่งปันข้อคิดเห็นของตนแก่สาธารณะได้อย่างรวดเร็ว 
3. Conversations generate exposure sales การพูดคุยโต้ตอบระหว่างลูกค้าเพื่อที่จะสามารถขายสินค้านั้นได้ เราต้องมีการโต้ตอบปฏิสัมพันธ์ ที่มีเหตุผล น่าสนใจให้ได้จึงจะสามารถทำให้ลูกค้าพึงพอใจและเกิดการตกลง
4. Transparency – open source ปัจจุบันเป็นยุคที่ทุกอย่างเปิดกว้าง ความโปร่งใส จริงใจนั้นเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อสร้างความเชื่อมมั่น เรื่องการให้เครดิตต่างๆ ของผู้มีส่วนช่วยก็นับว่าเป็นส่วนสำคัญในการสร้างแบรนสินค้าใหม่
5. Collaboration rules การอาศัยความร่วมมือของผู้บริโภค 
6.People use technologies to get thing that they need from each, other rather from corporations ผู้บริโภคจะอาศัยเทคโนโลยีต่างๆ ในการแสวงหาข้อมูล สินค้า เพื่อตัดสินใจซื้อสินค้า ซึ่งเขาจะข้อมูลจากการพูดเล่าของผู้บริโภคด้วยกันก่อนเสมอ ผู้บริโภคจะไม่เชื่อจากผู้ผลิตทั้งหมดก่อน เขาจะมองเห็นเป็นการโฆษณา ซึ่งเขาจะเชื่อจากผู้บริโภคที่คุยบอกกันเองมากกว่า

 
2. คำศัพท์ที่ได้จากการรับฟังบรรยายเรื่อง " การทำธุรกิจและการตลาดในยุคดิจิทัล 3.0 " พร้อมหาความหมาย 20 คำ
1. Influencer Marketing
คือ ความน่าเชื่อถือ มีผู้คนให้ความเชื่อถือ มีความคิดสามารถโน้มน้าวให้คนอื่นเชื่อได้
2. Buzz Marketing
คือ การรวบรวมความเห็นหรือคำวิจารณ์ทั้งหมด ซึ่งเกิดจากการเเลกเปลี่ยนกันในกลุ่มของ
ลูกค้าที่กล่าวถึงผลิตภัณฑ์หนึ่งในช่วงเวลาหนึ่งเวลาใดโดยเฉพาะ
3. Community Marketing
คือ การสื่อความหมายของกิจกรรมทางการตลาดเพื่อสร้างการรับรู้ สร้างความเข้าใจ และสร้างการยอมรับระหว่างธุรกิจกับผู้บริโภค โดยมุ่งหวังให้เกิดผลสำคัญคือช่วยกระตุ้นการขาย (Sale) และสร้างความจง-รักภักดีของลูกค้า (Customer Loyalty) กิจกรรมการสื่อสารการตลาดจึงประกอบด้วยส่วนสำคัญคือ การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการขาย และการตลาดทางตรง
4. Cause Marketing
คือ การเชื่อมธุรกิจของคุณเข้ากับองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร (NGO) หรือองค์กรการกุศลต่างๆ ซึ่ง เป็นกลยุทธ์ที่จะช่วยส่งเสริมธุรกิจ และมอบสิ่งดีๆกลับคืนสู่สังคมไปด้วยพร้อมๆกัน
5. Referral Marketing
คือ การตลาดแบบแนะนำบอกต่อ
6. Owned media
คือ สื่อที่ผู้ประกอบการเป็นเจ้าของ เช่น เว็บไซต์ บล็อก ต่างๆ  เป็นสื่อที่เป็นของเราเอง
7. Paid media
คือ สื่อที่เราต้องจ่ายเงินซื้อ เช่น Branner, Sponser ship
8. Earned Media
คือ สื่อที่ลูกค้าเป็นเจ้าของ เช่น Facebook  โดยมีการพูดถึงธุรกิจกับลูกค้าด้วยกัน
9. Change of costomer  
คือ การเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค
10. Alway on & Control  
คือ ผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ออนไลน์ตลอดเวลา และอำนาจส่วนใหญ่อยู่ในมือผู้บริโภค
11. Awarneness   
คือ การทำให้ผู้บริโภครู้จัก
12. Involvement  
คือ การทำให้เกิดมีส่วนร่วมกับธุรกิจ
13. Social network
คือ สังคมแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารผ่านทางระบบเครือข่าย มีทั้งแบบออนไลน์และอนาล็อก
14. Change of marketing
คือ การเปลี่ยนแปลงของการตลาด
15. Transaction Marketing  
คือ เปรียบได้กับการซื้อมา ขายไป การแลกเปลี่ยนแบบมีสถานที่ หรือตลาดคงที่ สามารถจับต้องได้
16. Relatioship Marketing   
คือ เป็นการให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ แบบ One on One ลงทุนในระยะยาว ความจงรักภักดีของลูกค้าต่อธุรกิจ
17. Collabrative Marketing  
คือ ความสัมพันธ์การตลาดแบบ Many to Many การร่วมกลุ่มกันทำการตลาด ลูกค้ามีส่วนช่วยในการโฆษณา ออกความคิดเห็นได้ ปรับเปลี่ยนรูปแบบสินค้าได้ตามความต้องการ
18. Conceptualized
คือ แนวความคิด
19. Pathway
คือ เส้นทางในการดำเนินงาน 
20. Reration ship
คือ การสร้างความสัมพันธ์ 

วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2555

"SO LO MO" Social Media Location Mobile & ZMOT Zero Moment of Truth


"SO LO MO" Social Media Location Mobile

So มาจากคำว่า Social ซึ่งมีความหมายคือ สังคม แต่ความหมายในเชิงธุรกิจไม่ใช่เพียงสังคมธรรมดา แต่หมายถึงสังคมออนไลน์ ที่มีการติดต่อ แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นกันในวงกว้าง หรือทั่วโลก Social ที่เรารู้จักกันก็เช่น Facebook, Twitter, You tube
Lo มาจากคำว่า Location ซึ่งมีความหมายคือ สถานที่ ในที่นี้หมายถึง การให้บริการของ Google map โดยเป็น Application ตัวหนึ่งของ Google ซึ่งเป็นที่นิยมของเว็บไซต์ส่วนตัว ร้านค้าออนไลน์ แม้กระทั่งบริษัท มีบทบาทในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า หรือทัวร์ต่าง ๆ เช่น การปักหมุดร้านค้า หรือ สถานที่ท่องเที่ยวของเจ้าของเว็บไซต์หรือทัวร์ต่าง ๆ
Mo มาจากคำว่า Mobile ซึ่งมีความหมายคือ โทรศัพท์ ที่ไม่ใช่เพียงโทรศัพท์ธรรมดาแต่รวมถึง Smartphone, Tablet, I-phone และอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ได้ทุกชนิด มีความสามารถรองรับตลาดออนไลน์ได้ในอนาคต อุปกรณ์เคลื่อนที่ที่ใช้ในการค้นหาข้อมูล หรือออนไลน์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตบนมือถือ การแชทสนทนากันได้ผ่าน Social media

ดังนั้น คำว่า So Lo Mo ความหมายโดยรวมก็คือ การติดต่อทำธุรกิจ ซื้อขายสินค้า รวมถึงการแชร์ข้อมูลต่างๆ ความคิดเห็น ข้อเสนอของลูกค้า หรือข้อมูลเพื่อการนำไปพัฒนาธุรกิจโดยการสื่อสารกับองค์กรย่อย หรือลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ผ่าน Social Media ต่างๆ เช่น  Facebook, Twitter, You tube และมีอย่างอื่นอีกมากมาย โดยการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ที่พัฒนาขึ้นมารองรับ Application ต่างๆ เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายแก่ลูกค้ามากยิ่งขึ้น แม้ว่าจะอยู่สถานที่ใด เวลาไหน ก็สามารถใช้บริการ รวมถึงการพูดคุย การแชร์ความคิดเห็น ได้อย่างเป็นรูปธรรม ถือเป็นการเก็บข้อมูลจากลูกค้าได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง

ZMOT

Zero Moment of Truth ก่อนที่จะทำเข้าใจกับ ZMOT เราควรเข้าใจกับคำว่า FMOT หรือ First Moment of Truth เสียก่อน FMOT ความหมายของมันคือ เป็นชั่วขณะที่ผู้ซื้อมีปฏิสัมพันธ์กับหน้าร้านและเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจซื้อ หน้าร้านก็เปรียบเสมือน แบรนด์บริษัท โลโก้
ส่วน ZMOT ความหมายก็คือ เป็นช่วงเวลาที่ลูกค้าซื้อสินค้าไปแล้ว และมีประสบการณ์ในการใช้งานสินค้า แล้วกลุ่มลูกค้าเหล่านั้นอาจจะมาเขียนรีวิวแบ่งปันข้อมูลกันบนเว็บไซต์ แชร์ประสบการณ์การใช้บริการว่าดีหรือไม่ดี ถ้าเป็นสินค้าก็อาจแชร์ถึงราคา คุณภาพต่างๆ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาเลือกซื้อสินค้า บริการในครั้งต่อๆไป
ลูกค้าจะมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ก่อนหน้าที่จะไปถึงร้านค้าจริง อย่างการ เริ่มค้นหาข้อมูลสินค้าที่ตัวเองสนใจ เช่น การดูรีวิว, เรตติ้ง จากเว็บไซต์ และ Social Media ต่างๆ ดูวิดีโอคลิปจาก YouTube หรือแม้กระทั่งการสแกน Barcode จากโทรศัพท์แล้วเปิดอ่านรีวิวกันตรงๆ  แรงผลักดันสำคัญที่ทำให้เกิด ZMOT คือ การเติบโตของอินเทอร์เน็ตและเครื่องมือที่ใช้เชื่อมต่ออย่างสมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่
ZMOT เป็นสิ่งที่นักการตลาดที่ดูแลแม้แต่สินค้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับออนไลน์โดยตรงก็ควรต้องเริ่มหันมาให้ความสนใจเพราะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะถ้าจะเจาะกลุ่ม Digital Natives (เกิดและเติบโตมาพร้อมกับยุคไอที) ZMOT จะมีอิทธิพลต่อคนกลุ่มนี้เป็นอย่างมาก

ตัวอย่างของการทำ E-Business ในภาคเอกชนและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจในรูปแบบของ E-Business


ตัวอย่างของการทำ E-business ในภาคเอกชน
บริษัท บริษัท นันทิยา แคร์ สโตน จำกัด หรือ ที่ใช้ชื่อว่า Thaigem (www.thaigem.com)

          เป็นร้านขายอัญมณีออนไลน์ของไทยที่ใหญ่ที่สุดในโลก เริ่มต้นธุรกิจขึ้นในปี 2520 จากการนำอัญมณีจากจังหวัดจันทบุรีเป็นตัวอย่างติดตัวไปขายให้แก่ลูกค้าที่สหรัฐฯ ต่อมาธุรกิจของบริษัทเริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ มีลูกค้าให้ความเชื่อถือ และมั่นใจในคุณภาพของอัญมณี จึงมีการบอกต่อกันไป (Word of Mouth) ทำให้ชื่อเสียงของบริษัทเริ่มเป็นที่รู้จักในกลุ่มของผู้ประกอบธุรกิจค้าอัญมณีทั้งไทย และต่างประเทศ ต่อมารูปแบบการขายก็เริ่มเปลี่ยนไปสู่การส่งแคตาลอกทางไปรษณีย์หรือส่งโทรสารเพื่อแจ้งรายละเอียดของอัญมณีให้แก่ลูกค้า และใช้โทรศัพท์ติดต่อกับลูกค้ามากขึ้น จนกระทั่งในราวปี 2540 บริษัทมีความสนใจทำธุรกิจส่งออกอัญมณีไปในตลาดต่างประเทศ บริษัทได้เริ่มให้ความสนใจที่จะนำอินเตอร์เน็ตมาใช้ประโยชน์ในการประกอบธุรกิจ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มประสิทธิภาพการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าให้ดีมากยิ่งขึ้น

การประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศกับธุรกิจในรูปแบบของ E-Business
         เมื่อพิจารณาในด้านของการออกแบบเว็บไซต์, การวางระบบงานด้านการตลาด และ back office นั้น การประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศทางกับทางธุรกิจ ในรูปแบบของ E-Business มีการวางแผนการขายที่ดี และมีการกำหนดรายละเอียดของสินค้าที่ชัดเจนสามารถให้ข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนให้กับลูกค้าในการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ได้เป็นอย่างดี จนกลุ่มเป้าหมายแทบจะหาเหตุผลในการไม่ทดลองสั่งซื้อไม่ได้เลย ในเว็บไซต์ได้ตอบสนองต่อความกังวลของลูกค้าทุกอย่าง และสร้างระบบที่ตอบสนองต่อความต้องการได้อย่างดีเยี่ยมดังนี้
1. การประกอบธุรกิจร้านค้าอัญมณีออนไลน์ของ Thaigem.com มีการสร้างตราสินค้า และสร้างความน่าเชื่อถือ การดำเนินธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ก็คือ การสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ลูกค้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งอัญมณี ซึ่งมีราคาแพงและผู้ซื้อต้องการเลือกเฟ้นหรือสัมผัสเพื่อพิจารณาสินค้าด้วยตัวเองก่อนการซื้อ ดังนั้น การสร้างชื่อร้านและความน่าเชื่อถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ที่ช่วยให้ลูกค้ามีความกล้าสั่งซื้อสินค้าผ่านออนไลน์ได้ในระดับหนึ่ง
2. การมุ่งเน้นตลาดขนาดใหญ่ ในปัจจุบันขณะที่เว็บไซต์ของไทยส่วนใหญ่มุ่งเน้นการทำธุรกิจกับกลุ่มตลาดผู้ใช้คนไทย แต่ Thaigem.com กลับมองการขายสินค้าไปสู่ตลาดโลก ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าผู้ใช้อินเตอร์เน็ตของไทยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวัยรุ่นซึ่งยังมีอำนาจซื้อไม่มาก และคนไทยส่วนใหญ่จะไม่ค่อยซื้อสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ต สร้างความสามารถในการแข่งขันในด้านราคา เนื่อง-จากราคาเป็นกลยุทธ์เด่นอย่างหนึ่งของบริษัทที่เสนอขายสินค้าให้แก่ลูกค้า และเป็นสิ่งกีดขวางคู่แข่งต่างประเทศรายอื่นเข้ามาแข่งขันในตลาดได้ง่าย อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน Thaigem.com จะมีการใช้วัตถุดิบจากภายในประเทศเพียง ร้อยละ 25 บริษัทยังสามารถคงความได้เปรียบทางด้านราคาและคุณภาพสินค้าด้วยฝีมือและประสบการณ์ที่ชำนาญของแรงงานไทย
3. นโยบายการคืนสินค้า (Return Policy) ถึงแม้ว่าจะมีรายละเอียดของสินค้าปรากฏอยู่บนเว็บไซต์ก็ตามแต่สินค้าจำพวกอัญมณีเหล่านี้มีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณา และจับต้อง Thaigem.com ยินยอมให้ลูกค้าคืนสินค้าอย่างไม่มีเงื่อนไขได้ภายใน 30 วัน
4. การรับประกันสินค้า (Gemological Authenticity Certificate) เพื่อความมั่นใจในตัวสินค้า Thaigem.com ได้มีการออกใบรับรองสำหรับสินค้าที่ซื้อบนเว็บไซต์นี้
5. เปิดโอกาสให้ลูกค้ากำหนดราคาซื้อที่พอใจ (Make an Offer) ความจริงแล้วนี่คือรูปแบบของ Auction นั่นเอง การเปิดโอกาสให้ลูกค้าค้นหารายการสินค้าและกำหนดราคาซื้อเป็นนโยบายการตลาดที่ยอดเยี่ยม ทำให้ลูกค้ารู้สึกเป็นกันเอง คล้ายกับการซื้อขายปกติที่มีการโต้ตอบ และการหลีกเลี่ยงคำว่า “Auction” สร้างความรู้สึกที่ดีกว่าให้กับลูกค้าอีกด้วย
6. การจัดส่ง (Delivery) เพื่อความมั่นใจ เว็บไซต์แห่งนี้เลือกใช้บริการของ FedEx ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในมาตรฐานการให้บริการในระดับโลก และเปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถติดตามสถานะของรายการสินค้าที่สั่งซื้อผ่านทางเว็บไซต์อีกด้วย
7. นโยบายการชำระเงิน (Payment System) เพื่อความสะดวก ลูกค้าสามารถเลือกใช้บริการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตที่มีระบบความปลอดภัยที่ได้มาตรฐานสูง (SSL - Secure Socket Layer) หรือผ่านตัวกลางที่เป็น Third Party อาทิเช่น Escrow.com หรือ PayPal เป็นต้น
8. นโยบายด้านความเป็นส่วนตัว (Privacy) มีการระบุชัดในเรื่องของมาตรฐานของความเป็นส่วนตัวของข้อมูลลูกค้าเช่นเดียวกับเว็บไซต์มาตรฐานทั่วไป
9. การสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ลูกค้าอาทิเช่น
- การสร้างผ่านหน้าเว็บไซต์ของบริษัท เช่น การผ่านการตรวจสอบ และรับรองคุณภาพของบริษัทจากสถาบันรับรองธุรกิจที่มีชื่อเสียงและมีการกำหนดนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และนำเสนอผ่านเว็บไซต์ เป็นต้น (ดังแสดงหน้าแรกของเว็บไซต์)
- การสร้างผ่านการให้บริการ นอกจากจะใช้บริการจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าแบบเร่งด่วนผ่าน FedEx ซึ่งรับประกันการจัดส่งอัญมณีภายใน 24-72 ชั่วโมงแล้ว Thaigem.com พยายามลดความเสี่ยงให้แก่ลูกค้า โดยการใช้บริการให้ลูกค้าโอนเงินผ่านบริษัทที่สาม (Escrow) และให้เวลาลูกค้า 2 วันในการตรวจสอบอัญมณีก่อนที่ Escrow จะโอนเงินให้กับ Thaigem .com ในกรณีที่ลูกค้าไม่พอใจในคุณภาพของสินค้า ก็สามารถคืนสินค้าและรับเงินคืน ซึ่งเป็นนโยบาย ไม่ถามเหตุผลใดๆ เมื่อมีการคืนสินค้าจากลูกค้าซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจในการซื้อสินค้าของลูกค้า
- การสร้างความได้เปรียบทางด้านราคาสินค้าและคุณภาพ ในปัจจุบันถึงแม้ว่าแหล่งวัตถุดิบของไทยที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันดีทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะขุดอัญมณีได้น้อยลง แต่ Thaigem.com ยังสามารถคงความได้เปรียบทางด้านราคาและคุณภาพสินค้าจากบุคลากรไทยที่มีความรู้เป็นเลิศในด้านการเจียรไนอัญมณีและมีค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่าประเทศอื่น
  

สาเหตุใดที่ทำให้ธุรกิจ Ecommerce ในประเทศไทย ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรและปัจจัยที่ทำให้ระบบการขายสินค้าในรูปแบบ Ecommerce ในประเทศไทยประสบความสำเร็จ

1. สาเหตุใดที่ทำให้ธุรกิจ Ecommerce ในประเทศไทย ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
1. การนำเสนอข้อมูลบนเว็บไซต์ หลายเว็บไซต์ยังขาดทักษะเรื่องของภาษา การนำเสนอขายสินค้าบางครั้งแค่ใส่ขนาดกับราคาเพียงเท่านั้น ขาดรายละเอียดทั้งในเรื่องของวัสดุ การใช้งาน และข้อมูลต่างๆ ที่ ลูกค้าต้องการเพิ่ม ที่สำคัญ นโยบายรับคืนสินค้า หลายเว็บไซต์มักเกรงปัญหาของคืน จึงไม่ได้ใส่เงื่อนไขสำคัญนี้ในเว็บของตน หรือบางเว็บไซต์ก็ใส่ข้อมูลที่เยอะมากเกินไป กว่าลูกค้าจะคลิกเข้าไปซื้อของได้ก็เสียเวลาเปิดเข้าไปในแต่ละหน้านานมาก


2. ขาดบุคคลากรที่มีความรู้ การนำเสนอข้อมูลที่ขาดรายละเอียดนั้น บางครั้งมีลูกค้าอีเมล์มาสอบถามเพิ่มเติม แต่บางเว็บไซต์ไม่ได้ตั้งบุคคลากรเพื่อดูแลปัญหานี้ หรือขาดความรู้ในการเข้าถึงเทคโนโลยี มีผู้ประกอบการหลายราย เปิดเว็บไซต์แล้ว ไม่ได้ตรวจอีเมล์ หรือตอบช้าเกินไป

3.ขาดการวางแผนตลาดรองรับ การมีเว็บไซต์เป็นเสมือนการเปิดร้านแห่งหนึ่งขึ้นบนโลกไซเบอร์ ซึ่งวันหนึ่งๆ มีเว็บเกิดขึ้นเป็นหมื่น หากไม่มีการวางแผนประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายรู้จัก ก็ยากที่จะประสบความสำเร็จ หลายเว็บเกิดขึ้นมาแบบขาดการวางแผน เห็นธุรกิจอื่นมีเว็บกัน ก็แค่อยากมีกับเขาบ้าง

4. ขาดการส่งเสริมอย่างจริงจัง มีหลายเว็บที่เปิดขึ้นมาแล้ว ขาดการดูแล ผู้ซื้อเข้ามากี่เดือนก็พบรูปแบบเหมือนเดิม ซ้ำโปรโมชั่นเก่าที่เอามาลดราคาก็หมดเขตไปตั้งแต่ปีที่แล้ว ทำให้เว็บขาดความเชื่อถือ ดังนั้น เมื่อเปิดเว็บแล้ว ต้องติดตาม ตรวจสอบสถิติ และพัฒนาเว็บไซต์ของตนให้ทันสมัยอยู่เสมอ

5. หลงเทคโนโลยี การสร้างเว็บไซต์ บางครั้งผู้ประกอบการมักหลงใหลกับความงามของกราฟฟิก ใส่ภาพเคลื่อนไหว เสียงประกอบต่างๆ เข้าไป เพื่อหวังจะเรียกร้องความสนใจของผู้เข้าชม โดยลืมไปว่าสิ่งเหล่านี้ต้องทำให้ผู้ซื้อสินค้าเสียเวลาโหลดนานมากกว่าที่จะ ได้ดูสินค้าแต่ละหน้า

6. ไม่กำหนดตลาด การที่อินเทอร์เน็ตสามารถเข้าถึงคนได้ทั่วโลก ทำให้ผู้ค้าบางรายหวังขายสินค้าไปทั่วโลก ทั้งที่ในโลกการค้า ลักษณะการใช้ภาษาก็ดี, รูปแบบ, ราคาของสินค้าก็ดี ล้วนมีความแตกต่างกันออกไป ดังนั้น เมื่อได้ข้อมูลความต้องการของลูกค้าที่ชัดเจนแล้ว ควรมุ่งเน้นไปยังตลาดกลุ่มเป้าหมาย ดีกว่าการทำตลาดแบบเหวี่ยงแห ซึ่งนอกจากเสียเวลาแล้ว ยังอาจเสียลูกค้าโดยไม่รู้ตัว เช่น หากจะขายเครื่องประดับราคาสูงแล้ว ก็ต้องไม่มีการขายตุ้มหู คู่ละ เหรียญอยู่ในเว็บ เป็นต้น

7. การออกแบบ การออกแบบเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ควรออกแบบให้ผู้ใช้ เข้าใจได้ง่าย โดยไม่ต้องมีคู่มือประกอบ สามารถค้นหาสินค้าได้สะดวก และชำระเงินได้โดยง่าย บางเว็บไซต์ ผู้ซื้อต้องกรอกข้อมูลมากเกินความจำเป็น ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย และรู้สึกว่าใช้งานลำบาก


2. ถ้าอยากจะให้ระบบการขายสินค้าในรูปแบบ E-commerce ในประเทศไทยประสบความสำเร็จ นักศึกษาคิดว่าควรจะต้องประกอบด้วยปัจจัยใดบ้าง
   ถ้าใช้วิธีเดิมๆ ในการขายสินค้านั้นอาจจะไม่ประสบความสำเร็จ  ผู้ขายจะต้องมีกลยุทธ์และวิธีการที่จะดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามาซื้อสินค้ามากกว่าปกติ เพราะด้วยรูปแบบการใช้ชีวิตของลูกค้าได้เปลี่ยนไป ดังนั้น ผู้ขายจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตามให้ทันลูกค้า ผู้ขายสินค้าต้องรับรู้ถึงแนวโน้มการตลาดรูปแบบใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตและรีบปรับตัวเองให้ทันกับยุคสมัยที่กำลังจะเปลี่ยนแปลง ซึ่งประกอบไปด้วยปัจจัยต่างๆ ดังนี้

1. กล้าตัดสินใจ ประการแรกที่ต้องทำคือ ค้นคว้าหาข้อมูล สร้างจินตนาการ  กลั่นกรอง ความคิด หาช่องทางและโอกาสเมื่อมองเห็น จงกล้าตัดสินใจดำเนินการ เพราะธุรกิจนี้ ใช้เงินน้อยมาก เมื่อเทียบกับการเปิดร้านขายสินค้าในห้างสรรพสินค้า หรือตึกแถว    ทั่วไป และที่สำคัญอย่างยิ่งคือ การขายสินค้าบนเว็บนี้สามารถขายให้คนได้ทั่วโลก และมีอากาศทั้งค้าปลีก ค้าส่ง และค้าส่งออกเป็นล็อตใหญ่ ฉะนั้น เมื่อเห็นโอกาส จงอย่ารีรอเป็นอันขาดหน้าที่หลักของท่านคือ การคิดเรื่องการตลาด เมื่อตัดสินใจแล้วหน้าที่หลัก คือ การวางแผนการตลาด คือจะขายให้ใคร ความต้องการและพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายนั้นเป็นอย่างไร จะวางตำแหน่งสินค้าอย่างไร จะต้องพัฒนาสินค้าอย่างไรเพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายเหล่านั้น จะตั้งราคาสินค้าเท่าใด จะขายผ่านช่องทางใด ตรงไปที่ผู้นำเข้า พ่อค้าส่ง พ่อค้าปลีก หรือผู้บริโภคโดยตรง และจะประชาสัมพันธ์เว็บ หรือมีรายการส่งเสริมการขายอย่างไร จึงจะเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย สิ่งเหล่านี้มีความสำคัญมากว่า การมีเทคโนโลยีดี ๆ ด้วยซ้ำ

2. โปรแกรมด้าน E-commerce มีความพร้อมให้ใช้งานอยู่แล้วสำหรับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั้น มีให้ใช้โดยทั่วไปอยู่แล้ว เช่น www.ecombot.com ซึ่งมีระบบครบถ้วนสมบูรณ์อยู่แล้ว ทั้งหน้าร้าน หรือออกแบบเว็บเพจให้มี ระบบออนไลน์แคตาล็อค ระบบตระกร้า หรือ Shopping Cart ระบบรับชำระเงินผ่านบัตรเครดิตแบบ Real-time ระบบติดตามผลการขาย ระบบออกรายงานขาย ระบบลงทะเบียน Search Engines เป็นต้น ฉะนั้น หน้าที่ของท่านก็เพียงแต่นำเอาข้อมูลสินค้า ราคา รูปภาพที่เตรียมไว้แล้ว ป้อนเข้าสู่ระบบเท่านั้น ก็สามารถเปิดใช้งานไดทันที

3. ใช้งบประมาณลงทุนน้อย  เงินลงทุนที่ใช้เพียงค่าสมาชิกอินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ โมเด็ม และค่าโปรแกรม E-commerce นอกจากนี้ยังมีการซื้อโปรแกรมระบบ E-commerce ในอัตราเดือนละ ไม่ถึง 500 บาท ก็เป็นอันเสร็จสิ้น แต่หากท่านไม่มีคอมพิวเตอร์ โมเด็ม และไม่ได้เป็นสมาชิกอินเทอร์เน็ต เลยก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ดังนี้ ค่าเครื่องคอมพิวเตอร์ประมาณ 25,000 บาท ค่าโมเด็ม ประมาณ 3,000 บาท และค่าสมาชิกอินเทอร์เน็ตประมาณเดือนละ 500 บาท หรือรวมเบ็ดเสร็จแล้วลงทุนทั้งหมดอยู่ในราว 30,000 บาท

4. เร่งงานให้เสร็จตามกำหนด เวลา ในการลงมือทำงานแล้ว สิ่งสำคัญต้องเร่งทำเดินงานให้เสร็จทันตามเวลา ไม่ควรเรื่องมาก หรือเขียนคิ้วทาปากให้กับเว็บ ทำการทดสอบสินค้า และราคาก่อน เพราะสาระสำคัญทางการค้ายังมีเรื่องที่ต้องทดสอบอีกมาก และก็ไม่มีใครสนใจความสวยงามของเว็บท่านมากนัก เพราะเขามาซื้อสินค้าไม่ใช้มาซื้อเว็บของท่าน อย่าลืม "เรียบง่าย ดูดี น่าเชื่อถือ" เป็นสำคัญ