วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2555

"SO LO MO" Social Media Location Mobile & ZMOT Zero Moment of Truth


"SO LO MO" Social Media Location Mobile

So มาจากคำว่า Social ซึ่งมีความหมายคือ สังคม แต่ความหมายในเชิงธุรกิจไม่ใช่เพียงสังคมธรรมดา แต่หมายถึงสังคมออนไลน์ ที่มีการติดต่อ แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นกันในวงกว้าง หรือทั่วโลก Social ที่เรารู้จักกันก็เช่น Facebook, Twitter, You tube
Lo มาจากคำว่า Location ซึ่งมีความหมายคือ สถานที่ ในที่นี้หมายถึง การให้บริการของ Google map โดยเป็น Application ตัวหนึ่งของ Google ซึ่งเป็นที่นิยมของเว็บไซต์ส่วนตัว ร้านค้าออนไลน์ แม้กระทั่งบริษัท มีบทบาทในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า หรือทัวร์ต่าง ๆ เช่น การปักหมุดร้านค้า หรือ สถานที่ท่องเที่ยวของเจ้าของเว็บไซต์หรือทัวร์ต่าง ๆ
Mo มาจากคำว่า Mobile ซึ่งมีความหมายคือ โทรศัพท์ ที่ไม่ใช่เพียงโทรศัพท์ธรรมดาแต่รวมถึง Smartphone, Tablet, I-phone และอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ได้ทุกชนิด มีความสามารถรองรับตลาดออนไลน์ได้ในอนาคต อุปกรณ์เคลื่อนที่ที่ใช้ในการค้นหาข้อมูล หรือออนไลน์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตบนมือถือ การแชทสนทนากันได้ผ่าน Social media

ดังนั้น คำว่า So Lo Mo ความหมายโดยรวมก็คือ การติดต่อทำธุรกิจ ซื้อขายสินค้า รวมถึงการแชร์ข้อมูลต่างๆ ความคิดเห็น ข้อเสนอของลูกค้า หรือข้อมูลเพื่อการนำไปพัฒนาธุรกิจโดยการสื่อสารกับองค์กรย่อย หรือลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ผ่าน Social Media ต่างๆ เช่น  Facebook, Twitter, You tube และมีอย่างอื่นอีกมากมาย โดยการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ที่พัฒนาขึ้นมารองรับ Application ต่างๆ เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายแก่ลูกค้ามากยิ่งขึ้น แม้ว่าจะอยู่สถานที่ใด เวลาไหน ก็สามารถใช้บริการ รวมถึงการพูดคุย การแชร์ความคิดเห็น ได้อย่างเป็นรูปธรรม ถือเป็นการเก็บข้อมูลจากลูกค้าได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง

ZMOT

Zero Moment of Truth ก่อนที่จะทำเข้าใจกับ ZMOT เราควรเข้าใจกับคำว่า FMOT หรือ First Moment of Truth เสียก่อน FMOT ความหมายของมันคือ เป็นชั่วขณะที่ผู้ซื้อมีปฏิสัมพันธ์กับหน้าร้านและเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจซื้อ หน้าร้านก็เปรียบเสมือน แบรนด์บริษัท โลโก้
ส่วน ZMOT ความหมายก็คือ เป็นช่วงเวลาที่ลูกค้าซื้อสินค้าไปแล้ว และมีประสบการณ์ในการใช้งานสินค้า แล้วกลุ่มลูกค้าเหล่านั้นอาจจะมาเขียนรีวิวแบ่งปันข้อมูลกันบนเว็บไซต์ แชร์ประสบการณ์การใช้บริการว่าดีหรือไม่ดี ถ้าเป็นสินค้าก็อาจแชร์ถึงราคา คุณภาพต่างๆ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาเลือกซื้อสินค้า บริการในครั้งต่อๆไป
ลูกค้าจะมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ก่อนหน้าที่จะไปถึงร้านค้าจริง อย่างการ เริ่มค้นหาข้อมูลสินค้าที่ตัวเองสนใจ เช่น การดูรีวิว, เรตติ้ง จากเว็บไซต์ และ Social Media ต่างๆ ดูวิดีโอคลิปจาก YouTube หรือแม้กระทั่งการสแกน Barcode จากโทรศัพท์แล้วเปิดอ่านรีวิวกันตรงๆ  แรงผลักดันสำคัญที่ทำให้เกิด ZMOT คือ การเติบโตของอินเทอร์เน็ตและเครื่องมือที่ใช้เชื่อมต่ออย่างสมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่
ZMOT เป็นสิ่งที่นักการตลาดที่ดูแลแม้แต่สินค้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับออนไลน์โดยตรงก็ควรต้องเริ่มหันมาให้ความสนใจเพราะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะถ้าจะเจาะกลุ่ม Digital Natives (เกิดและเติบโตมาพร้อมกับยุคไอที) ZMOT จะมีอิทธิพลต่อคนกลุ่มนี้เป็นอย่างมาก

1 ความคิดเห็น: